เลือกดูโดยใช้ดัชนีคำศัพท์

พิเศษ | A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ทั้งหมด

หน้า: (หน้าก่อน)   1  2  3  4  (ต่อไป)
  ทั้งหมด

ตลาดเงิน

มาจากคำว่า Finantial Market เป็นสถานที่ให้กู้เงิน หรือ ซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่ที่ดิน อาคาร สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

ตั๋วเงินคลัง

มาจากคำว่า Treasury Bill หมายถึง ตราสารทางการเงินระยะสั้นที่รัฐบาลเป็นผู้ออก จำหน่ายโดยวิธีประมูลและชำระเงินในราคาตราหักส่วนลด เมื่อครบกำหนดผู้ถือกรรมสิทธิ์ จะได้รับเงินเต็มจำนวนราคาตรา

ธุรกรรมเคลื่อนย้ายเงินทุน

มาจากคำว่า Capital Transfer เป็นการเคลื่อนย้ายในรูปตัวเงินและในรูปมิใช่ตัวเงิน ได้แก่ การโอนย้ายเงินทุนที่เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์ถาวร การโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวร และการยกเลิกหนี้สินโดยเจ้าหนี้

บัญชีการเงิน

มาจากคำว่า Financial Account หมายถึงธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) การลงทุนในหลักทรัพย์(Portfolio Investment) และการลงทุนอื่น ๆ (Other Investment)

บัญชีทุน


ผลตอบแทนการจ้างงาน

มาจากคำว่า Compensation of Employees หมายถึง รายได้ในรูปของค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ

มาจากคำว่า Gross National Product หรือ GNP หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง  โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ


ผลิตภัณฑ์ในประเทศ

มาจากคำว่า Gross Domestic Product หรือ GDP หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำการผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ

ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น ขณะที่ GDP ณ ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็นปีฐาน


ผู้มีงานทำ

บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นไปตามเงื่อนไขนี้

1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น สำหรับผลงานที่ทำเป็นเงินสด หรือสิ่งของ หรือ

2. ไม่ได้ทำงานเลย แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง ได้หยุดงานชั่วคราว เนื่องจากเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บ หยุดพักผ่อน สถานที่ทำงานปิด ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย นอกฤดูกาลหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นการปิดที่ทำงานชั่วคราวโดยไม่คำนึง ว่าจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีกำหนดว่าภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานที่ทำงานปิดจะได้กลับมาทำงาน ณ สถานที่ทำงานนั้นอีก หรือ

3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน


ผู้ว่างงาน

บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงานใด ๆ เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจ หรือไร่นาเกษตรของตนเองแต่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งหมายถึงบุคคลต่อไปนี้

1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วัน นับถึงวันแจงนับ

2. ผู้ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำ เพราะคิดว่าหางานที่เหมาะสมกับตนทำไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาล หรือเหตุผลอื่น ๆ


พันธบัตร

มาจากคำว่า Bond หมายถึง ตราสารประเภทหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินระยะยาวจากประชาชน การออกพันธบัตรรัฐบาล (government bond) ทำให้รัฐบาลเกิดความคล่องตัวในการจัดหาเงินทุนในการพัฒนาประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพียงแหล่งเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ผู้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลโดยตรง และจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งได้รับชำระคืนเงินต้นตามราคาที่ตราไว้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงด้านผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น และจะมีอายุตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึง 20 ปี สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยองค์กรภาครัฐจะมีชื่อเรียกตามองค์กรที่ออกพันธบัตร เช่น พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ พันธบัตรเหล่านี้มักจะได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้องค์กรของรัฐโดยตรงเช่นกัน

มาตรการกันสำรอง 30%

มาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2549 ตามประกาศเลขที่ 51/2549 เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทจะต้องกันสำรองไว้ 30% ส่วนที่เหลือ 70% ให้รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้ลูกค้า ส่งผลให้ตลาดหุ้นวันที่ 19 ธ.ค. 2549 ลดลง 108 จุด หรือ 19% ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนปรนมาตรการนี้


มูลค่าที่ตราไว้

มาจากคำว่า Par Value หมายถึง มูลค่าเงินต้นที่ผู้ถือตราสารหนี้จะได้รับคืนเมื่อตราสารหนี้ครบกำหนด แต่มูลค่าที่ตราไว้นี้อาจลดลงเมื่อมีการจ่ายคืนเงินต้นในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ชนิดทยอยจ่ายคืน ทั้งนี้ สิ่งที่มักสับสน คือ มูลค่าที่ตราไว้นี้ไม่ใช่ราคาของตราสารหนี้ เมื่อมีการซื้อขายในตลาดรองซึ่งราคาจะมีความผันผวน และขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

รายได้

มาจากคำว่า Income ประกอบด้วยผลตอบแทนการจ้างงาน และรายได้จากการลงทุน

รายได้จากการลงทุน

มาจากคำว่า Investment Income หมายถึง ผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนโดยตรง การลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนอื่นๆ


หน้า: (หน้าก่อน)   1  2  3  4  (ต่อไป)
  ทั้งหมด